พื้นอีพ็อกซี่และพื้น Epoxy Self-Leveling คืออะไร

ทั้งพื้นอีพ็อกซี่และพื้น Epoxy Self-Leveling ถูกจัดให้เป็นพื้นในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งพื้นทั้ง 2 ชนิดนี้ มีคุณสมบัติเรื่องความทนทานต่อสารเคมีต่าง ๆ โดยเฉพาะกรดและด่าง ทั้งยังมีความทนต่อน้ำมันได้ดีเช่นกัน แต่มีข้อเสียไม่ถูกกับความชื้น

ดังนั้น ในการเตรียมพื้นทั้ง 2 ชนิดนี้ จึงต้องผ่านการทดสอบความชื้นสะสมในพื้นปูนให้ดีเสียก่อน ซึ่งพื้น epoxy coating นั้น จะเป็นการเคลือบพื้นด้วยการทาแบบลูกกลิ้ง เมื่อเสร็จแล้ว จะได้ระดับความหนาของสีอยู่ที่ 450 ไมครอนโดยประมาณ

ส่วนพื้น Epoxy Self-Leveling นั้น เป็นการเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ ด้วยการนำเกรียงมาปาด จึงทำให้มีความหนามากกว่าการใช้ลูกกลิ้ง โดยทั่วไปแล้วนิยมเตรียมให้มีระดับความหนาอยู่ที่ 2  มิลลิเมตรขึ้นไป ซึ่งระดับความหนาอาจเปลี่ยนแปลงได้ เพราะขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นหลัก

ในเรื่องคุณสมบัตินั้น ก็จะมีความทนทานและมีอายุการใช้งานสูงกว่าระบบพื้นอีพ็อกซี่แบบธรรมดาทั่วไป เนื่องจากมีความหนาเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว เมื่อมีระดับความหนาเพิ่มขึ้น ก็จะได้ทั้งความทนทานและมีอายุการใช้งานที่ยานานกว่า ที่สำคัญยังแบกรับแรงกดได้ดีกว่าอีกด้วย นอกจากนี้ ในขั้นตอนการเตรียมพื้นผิวสำหรับพื้นที่มีความชื้นสะสมสูง ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำชั้นสารป้องกันความชื้น เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานกว่าเดิม

 

เปรียบเทียบพื้นอีพ็อกซี่ทั้ง 2 ชนิด ระหว่าง Epoxy Coating Flooring  และ Epoxy Self Leveling

1.พื้นอีพ็อกซี่ Epoxy Coating Flooring – ถูกออกแกบบมาไว้สำหรับทาพื้นปูนและคอนกรีต ซึ่งสามารถใช้ได้ดีทั้งในปูนเก่าและใหม่ เป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้กับพื้นอุตสาหกรรม เพราะนอกจากความทนทานแล้ว ยังมีสวยงาม มีสีสันที่สดใน และยังง่ายต่อการดูแลรักษาความสะอาดอีกด้วย โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกพื้นผิวได้ 2 แบบ คือ ผิวเรียบกับผิวขรุขระ

2.พื้นอีพ็อกซี่ Epoxy Self Leveling – สำหรับพื้นชนิดนี้ ถือได้รับความนิยมอย่างยิ่งในการนำมาใช้กับงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการการผลิต ไปจนงานอาคารและเคหาสถาน ทั้งนี้ เพราะมันสามารถปรับผิวให้เรียนเนียนด้วยตนเองได้ จึงทำให้พื้นผิวมีความเรียบ มันเงาและสวยงาม ใช้เคลือบได้ทั้งผิวคอนกรีตและผิวปูน ด้วยเหตุนี้ มันจึงได้รับความนิยมสูงมากจากบรรดาอุตสาหกรรมปานกลาง ไปจนถึงอุตสาหกรรมหนัก หรือแม้กระทั่งที่อยู่อาศัย.

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นพื้นชนิดใดก็ตาม ควรให้ความสำคัญในขั้นตอนการตรวจวัดระดับความชื้นสะสมให้ดีก่อนทุกครั้ง เพราะหากปล่อยให้มีความชื้นสะสมอยู่ แม้เพียงปริมาณเล็กน้อย ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาพื้นบวม พื้นเป็นรอย จนอาจหลุดร่อนออกมาได้.

 

สีพื้นโรงงาน

สีพื้นโรงงาน พื้นอีพ็อกซี่ พื้นพียู พื้นโรงงานอุตสาหกรรม พื้นกันลื่น สีโคล์ดพลาสติก กันซึมดาดฟ้า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *